🔴ขั้นตอน (แบบย่อ) ของการดำเนินคดีอาญา🔴


💥ผู้ต้องหาและจำเลยคือใคร💥
👉“ผู้ต้องหา” คือบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลและอาจจะถูกจับแล้วนำมาควบคุมหรือขังไว้เพื่อทำการสอบสวน


👉“จำเลย” คือบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมนานเท่าใด


👉เมื่อบุคคลใดถูกจับเป็นผู้ต้องหา ตำรวจมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหานั้นได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
👉และไม่เกิน 24 ชั่วโมง สำหรับความผิดที่ขึ้นศาลคดีเด็กและเยาวชน ทั้งนี้นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกนำตัวมาถึงที่ทำการของเจ้าพนักงาน
👉สำหรับความผิดลหุโทษ (ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) เจ้าพนักงานจะควบคุมตัวไว้เพียงเท่าเวลาที่จะถามคำให้การ ชื่อ และที่อยู่เท่านั้น จากนั้นต้องปล่อยตัวไป


💥ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมหรือขังตัวในชั้นสอบสวนมีสิทธิดังนี้💥

1. ให้การต่อพนักงานสอบสวนเมื่อถูกสอบสวน หรือปฏิเสธไม่ยอมให้การหรือขอไปให้การในชั้นศาล คำให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาคดีของศาลได้
2. ขอพบทนายเพื่อปรึกษาคดีที่ถูกกล่าวหาสองต่อสอง
3. ขอประกันตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลที่ออกหมายขัง แล้วแต่กรณี
4. ได้รับเยี่ยมตามสมควร
5. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย


💥การผัดฟ้องและฝากขังในศาลแขวง💥
1. ความผิดที่ขึ้นศาลแขวงนั้น พนักงานอัยการจะต้องฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแขวงภายใน 48 ชั่วโมง แต่ถ้าไม่อาจฟ้องผู้ต้องหาภายในเวลาดังกล่าวได้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องนำตัวผู้ต้องหามาศาลและยื่นคำร้องขอฝากขังและผัดฟ้องต่อศาล ศาลอนุญาตได้ไม่เกิน 5 คราวๆ ละไม่เกิน 6 วัน
2. ผู้ต้องหาได้ประกันตัวชั้นสอบสวน ไม่ต้องนำผู้ต้องหามาศาลเพียงแต่ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องอย่างเดียว


💥การฝากขังในศาลอาญาหรือศาลจังหวัด💥
👉1. ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่และพนักงานสอบสวนไม่อาจสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนต้องส่งผู้ต้องหามาศาลและพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ขังผู้ต้องหาไว้ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าฝากขัง
• ในกรณีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทังปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียวมีกำหนดไม่เกิน 7 วัน
• แต่ถ้ามีอัตราโทษเกินกว่านี้ ศาลอาจสั่งขังได้หลายๆ ครั้งติดๆ กัน แต่ครั้งหนึ่งไม่เกิน 12 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 48 วัน (ไม่เกิน 4 ครั้ง)
• เว้นแต่ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ศาลสั่งขังได้รวมทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน (ไม่เกิน 7 ครั้ง)
👉2. ผู้ต้องหาได้ประกันตัวชั้นสอบสวน ผู้ต้องหาไม่จำต้องมาศาลจนกว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะขอฝากขัง แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว หรือนำตัวผู้ต้องหานั้นมาฟ้องต่อศาล
👉3. สำหรับศาลจังหวัดที่นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะต้องขอผัดฟ้องและฝากขังผู้ต้องหานั้นต่อศาลจังหวัดเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในศาลแขวง


💥การผัดฟ้องในศาลเยาวชนและครอบครัว💥
เมื่อเจ้าหน้าที่จับกุมเด็กหรือเยาวชนที่มีอายุไม่ครบ 18 ปี ซึ่งต้องหาว่าได้กระทำความผิดและความผิดนั้นอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว พนักงานสอบสวนจะต้องสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน แล้วส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง และต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันจับกุม หากฟ้องไม่ทันพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง ศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน 4 คราว คราวละไม่เกิน 15 วัน


💥เมื่อมีการฝากขังหรือผัดฟ้อง ผู้ต้องหามีสิทธิดังนี้💥
1. แถลงคัดค้านคำร้องของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการที่ขอฝากขัง หรือ ผัดฟ้อง
2. ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล หากศาลอนุญาตให้ขังตามที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการร้องขอ
ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจกศาล ผู้ต้องหาต้องมาศาลทุกครั้งที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอฝากขังต่อ และผู้ประกันอาจยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อไปโดยให้ถือหลักทรัพย์และสัญญาเดิม


การสู้คดีในศาล
1. กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ พนักงานอัยการต้องนำตัวผู้ต้องหามาศาล และศาลอาจสั่งประทับฟ้องได้เลยทีเดียวโดยไม่ต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง
2. กรณีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนโดยศาลจะส่งสำเนาฟ้องกับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลยทราบ จำเลยจะมาหรือไม่มาฟังการไต่สวนหรือจะตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้
ในวันไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าจำเลยจะรอฟังคำสั่งศาล จำเลยควรเตรียมหลักทรัพย์มาเพื่อขอประกันตัวด้วย เพราะหากศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา ศาลอาจรับตัวจำเลยขังไว้ในระหว่างพิจารณาได้
ทางปฏิบัติศาลอาจไม่รับตัวจำเลยไว้ขังทันที แต่จะให้โอกาสจำเลยเตรียมตัวสู้คดี โดยจะนัดวันให้จำเลยยื่นคำให้การแก้คดีอีกครั้งหนึ่ง ในวันนัดแก้คดีจึงจะรับตัวจำเลยไว้ขังในระหว่างพิจารณา เว้นแต่จำเลยจะมีประกันตัวไป


💥เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว หากจำเลยจะสู้คดีควรปฏิบัติดังนี้💥
1. ยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาล ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนหรือชั้นฝากขังหรือไม่ก็ตาม
2. ยื่นคำให้การต่อศาล หากจำเลยประสงค์จะให้การ
3. หาทนายเพื่อช่วยเหลือตนในการดำเนินคดีต่อไป
การหาทนาย


💥โดยปกติจำเลยต้องหาทนายเองและเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง💥
เว้นแต่คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ถ้าจำเลยไม่มีทนายศาลจะตั้งทนายให้
หรือคดีมีอัตราโทษจำคุกหรือคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันถูกฟ้อง ถ้าจำเลยไม่มีและต้องการทนายศาลก็ตั้งทนายให้การให้การต่อศาล
เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ก่อนที่ศาลจะพิจารณาคดีต่อไป ศาลจะอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ หากจำเลยไม่ให้การถือว่าจำเลยปฏิเสธ


💥จำเลยประสงค์จะให้การควรปฏิบัติดังนี้💥
1. ถ้าจำเลยกระทำผิดจริง ควรรับสารภาพต่อศาล เพราะการรับสารภาพเป็นเหตุบรรเทาโทษอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยปกติศาลจะปราณีลดโทษให้อันเป็นผลดีแก่จำเลยที่จะได้รับโทษในสถานเบา
2. ถ้าจำเลยมิได้กระทำผิด หรือประสงค์จะต่อสู้คดีควรให้การปฏิเสธความรับผิด ส่วนการให้การในรายละเอียดอย่างไรจึงจะเป็นผลดีแก่จำเลยควรปรึกษาทนาย
3. มีคดีบางประเภทกฎหมายยกเว้นโทษให้ บางกรณีกฎหมายถือว่าไม่เป็นความผิด บางกรณีกฎหมายถือว่าเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ บางกรณีกฎหมายให้อำนาจศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย หรือบางกรณีกฎหมายลดมาตราส่วนโทษให้ เช่น การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ การกระทำด้วยความจำเป็น การกระทำโดยบันดาลโทสะ บุพการีกระทำต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการี หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน หรือในคดีเด็กอายุไม่เกิน 17 ปี เป็นผู้กระทำความผิด ดังนั้นจำเลยจะให้การอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมายควรจะปรึกษาทนาย


💥การขอให้ศาลรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ💥
1. ให้คดีความผิดซึ่งศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ถ้าปรากฏว่าจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว ศาลอาจจะรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษจำเลยก็ได้ อันเป็นผลดีแก่จำเลยที่จะไม่ต้องรับโทษจำคุก
2. จำเลยที่ประสงค์จะขอให้ศาลรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษควรเตรียมหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ ฯลฯ ดังกล่าวในข้อ 1 ที่มีอยู่มาให้พร้อม และยื่นต่อศาลเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาล เช่น เรื่องอายุของจำเลยก็ควรมีสูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนมาแสดง ถ้าเป็นนักเรียนก็ควรมีใบรับรองจากโรงเรียน ถ้าเป็นข้าราชการ พนักงานลูกจ้าง ก็ควรมีคำรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง หรือถ้าหากเป็นกรณีที่มีการชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยก็ควรนำผู้เสียหายมาแถลงต่อศาลด้วย หากนำมาไม่ได้จริงๆ ก็ควรมีบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายซึ่งพนักงานสอบสวนทำไว้หรือพนักงานอัยการโจทก์รับรองว่าเป็นจริง
3. ในบางคดีศาลอาจมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษาเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความประพฤติของจำเลย และพฤติการณ์แห่งคดี ฯลฯ นำมาประกอบในการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลย ระหว่างการสืบเสาะจำเลยจะต้องถูกขังไว้ในเรือนจำ จึงควรเตรียมหลักทรัพย์มาขอประกันตัวต่อศาล


💥การพิจารณาคดีอาญาในศาลต้องทำต่อหน้าจำเลย💥
การพิจารณาและการสืบพยานในคดีอาญานั้น ศาลจะต้องกระทำต่อหน้าจำเลย จำเลยจึงต้องมาศาลทุกนัดที่มีการพิจารณาคดีเรื่องที่ตนถูกฟ้อง เว้นแต่
1. ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยมีทนายและจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยาน
2. ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคำแถลงของโจทก์ว่าการพิจารณาและสืบพยานตามที่โจทก์ขอให้กระทำไม่เกี่ยวแก่จำเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยคนนั้นก็ได้
3. ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจพิจารณาและสืบพยานจำเลยคนหนึ่งๆ ลับหลังจำเลยคนอื่นก็ได้
4. ในกรณีที่มีการส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นหรือการเดินเผชิญสืบนอกศาล จำเลยจะไปฟังการพิจารณาหรือไม่ก็ได้


💥หน้าที่นำสืบ💥
ในคดีอาญากฎหมายสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้กระทำผิด ดังนั้นโจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย โดยต้องนำสืบก่อนว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดแล้วจำเลยจึงนำสืบแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ศาลจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย


💥ค่าธรรมเนียม💥
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาล จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดทั้งสิ้น


💥การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง💥
👉โดยปกติศาลต้องอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยฟัง จำเลยจึงต้องมาฟังตามวันเวลาที่ศาลนัด
👉ถ้าจำเลยไม่มาฟังและศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจงใจหลงหนี หรือจงใจไม่มา ศาลจะออกหมายจับจำเลย
👉ถ้ายังไม่ได้ตัวจำเลยมาภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกหมายจับ ศาลอาจอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นลับหลังจำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว


💥การอุทธรณ์หรือฎีกา💥
1. เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ถ้าเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือต้องห้ามฎีกา โจทก์จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา โดยยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลชั้นต้น ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณีให้จำเลยฟัง คดีจะอุทธรณ์หรือฎีกาได้หรือไม่ ควรปรึกษาทนายความ
2. กรณีจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำ จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อพัศดีภายในกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกาเพื่อให้พัศดีส่งไปยังศาล
3. กรณีที่โจทก์อุทธรณ์หรือฎีกา หากศาลส่งสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกาให้จำเลยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์หรือสำเนาฎีกาก็ตาม ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิจารณาคดีต่อไป แต่หากจำเลยได้รับสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์แล้วจำเลยจะแก้หรือไม่ก็ได้ หากจำเลยจะแก้ต้องแก้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันรับสำเนาอุทธรณ์หรือฎีกา
4. จำเลยจะให้ทนายจำเลยยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลแทนตนก็ได้ แต่ถ้าจำเลยและทนายต่างยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาด้วยกัน ศาลจะเรียกจำเลยมาสอบถามให้เลือกเอาอุทธรณ์หรือฎีกาฉบับหนึ่งฉบับใดแต่เพียงฉบับเดียว
5. เมื่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย หากเป็นคดีที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยต้องยื

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายความประชาชน - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ

🌈👉ติดตั้ง แอปพลิเคชัน👈🌈

💖⚖️“ (ทนายความประชาชน) ”⚖️💖

https://play.google.com/store/apps/

X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ